วันนี้ม้าทองเศรษฐีมีเคล็ดลับดีๆ ในการปลูกมันสำปะหลังมาฝากเกษตรกรทุกท่าน เพื่อให้ในฤดูกาลนี้ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ เปอร์เซ็นต์แป้งสูง!! ขายได้มีกำไรกัน
1. เลือกฤดูปลูกให้ถูกใจมันฯ
ถึงแม้มันสำปะหลังจะเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่การเจริญเติบโตและผลผลิตก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย เพราะฉะนั้นจึงมักเริ่มปลูกกันในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากจะได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด สูงกว่าการปลูกในฤดูแล้ง
ส่วนการปลูกในช่วงกลางฤดูฝน จะทำให้ได้ผลผลิตที่ต่ำ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกและมีปัญหาในเรื่องของการเตรียมดิน ส่งผลทำให้อัตราการรอดของมันสำปะหลังลดต่ำลง
ส่วนการปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฝนหรือฤดูแล้ง สามารถทำได้ในดินที่มีการเก็บความชื้น ข้อดีของการปลูกมันสำปะหลังในช่วงแล้งคือการลดปัญหาวัชพืชและไม่มีฝนที่ตกกระทบทำให้เกิดการชะหน้าดินในช่วงแรก มันสำปะหลังอาจเติบโตช้าแต่เมื่อถึงช่วงฤดูฝนใบของมันสำปะหลังจะช่วยลดแรงปะทะจากฝนกับหน้าดิน ทำให้ช่วยลดปัญหาการแน่นทึบที่หน้าดินได้
2. เลือกท่อนพันธุ์ให้ปังพร้อมปัก
การเลือกท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มีความยาวประมาณ 15-20 ซม. และมีจำนวนตาไม่น้อยกว่า 5 ตา
3. เตรียมดินให้ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้โดยไม่เพิ่มต้นทุน คือ การเตรียมดินให้พร้อมทำการเพาะปลูกและกำจัดวัชพืชให้หมด เนื่องจากมีผลทำให้มันสำปะหลังที่ปลูกมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง ลงหัวได้ลึก สามารถดูดซับธาตุอาหารในดินและสะสมแป้งได้ดี ส่งผลให้ได้หัวมันน้ำหนักดีตามไปด้วย
ซึ่งการเตรียมแปลงแนะนำให้ใช้วิธีไถดะด้วยผาน3 เพื่อกลับหน้าดิน พลิกกลบวัชพืช ซากใบ เศษต้น ของมันสำปะหลังที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวลงไปในดิน และอาจมีการเติมวัสดุปรับปรุงดินต่างๆ ลงไปในดินด้วย เช่น ขี้ไก่ แกลบ ปุ๋ยคอก หรือออเจ้า ฮอร์โมนน้ำตราม้าทองเศรษฐีลงหัวมันสำปะหลัง มันแก้ว เผือก ต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ ปรับปรุงโครงสร้างให้ดินร่วนซุย สามารถอุ้มน้ำและธาตุอาหารได้ดีขึ้น เสร็จแล้วตากดินทิ้งไว้ 10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน ตามด้วยการไถพรวนด้วยผาน7 เพื่อตีให้ดินละเอียด
ในส่วนของการยกร่องมันสำปะหลังนั้น มีส่วนในการช่วยเก็บความชื้น และระบายน้ำส่วนเกินในดินได้ดี แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรยกร่องปลูกแคบและแหลมในลักษณะ “สามเหลี่ยม” เนื่องจากเมื่อเข้าช่วง 4-5 เดือน (หลังปลูก) ที่หัวมันสำปะหลังเริ่มขยายใหญ่ขึ้น หัวมันฯ จะลอยโผล่พ้นดินออกด้านข้างร่องได้
4. เก็บเกี่ยวถูกช่วงผลผลิตสูงชัวร์
มันสำปะหลังสามารถให้ผลผลิตได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป แต่ไม่นิยมเก็บเกี่ยวในช่วงนั้นเนื่องจากขนาดของมันสำปะหลังจะเล็กและได้ปริมาณแป้งน้อย โดยทั่วไปจึงนิยมเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่อายุ 9-12 เดือน เนื่องจากสามารถปลูกในฤดูกาลปลูกต่อไปได้พอดี ซึ่งการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังนั้นสามารถยืดหยุ่นได้ตามฤดูกาล และสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังนั้นมีอยู่หลายปัจจัย เช่น ราคามันสำปะหลัง ฐานะทางเศรษฐกิจ แรงงาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากมันสำปะหลังมีอายุมากขึ้น แป้งที่สะสมอยู่ในหัวจะเปลี่ยนรูปไป ทำให้มีการสะสมเส้นใย (Fiber) สูง ซึ่งมันสำปะหลังที่มีเส้นใยสูงนั้นไม่เป็นที่นิยมของตลาด จึงควรเก็บที่ช่วงอายุไม่สูงเกินไป เพื่อให้ได้หัวมันสำปะหลังที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง และเป็นที่ต้องการของตลาด
การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมี 2 วิธีการ คือ การใช้แรงงานคน โดยการตัดต้นมันสำปะหลังให้เหลือส่วนล่างไว้ จากนั้นขุดขึ้นมา แล้วทำการสับเหง้าของมันสำปะหลังออก แล้วขนส่งไปยังโรงงานเพื่อแปรสภาพ อีกวิธีคือการใช้เครื่องทุ่นแรงโดยการติดท้ายรถแทรกเตอร์ ทำการพลิกหน้าดินเพื่อให้มันสำปะหลังหลุดจากดิน แล้วใช้แรงงานคนเดินตามเพื่อตัดหัวมันสำปะหลังออกจากเหง้า
5. เลือกสูตรปุ๋ยหรือ ฮอร์โมนลงหัวมันสำปะหลัง ให้เหมาะสม
ในส่วนของการบำรุงการใช้ปุ๋ย หรือ ฮอนโมนสำหรับ มันสำปะหลัง นั้น ม้าทองเศรษฐีขอแนะนำ ออเจ้า ปุ๋ยน้ำสูตร 10-0-11 สูตรเข็มข้นเพื่อเพิ่มขนาดหัวมัน เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มเปอร์เซนต์แป้ง
ในช่วงมันสำปะหลังอายุ 4-5 เดือนนั้น จะเป็นช่วงที่รากของมันสำปะหลังเริ่มสะสมอาหาร ม้าทองเศรษฐีขอแนะนำให้ใส่ปุ๋ย หรือออเจ้า ฮอร์โมนศุตรลงหัว เพื่อเร่งในการสะสมอาหาร หรือที่พี่น้องเกษตรกรเรียกกันว่าระยะ “ระเบิดหัว” เพื่อให้มันสำปะหลังของเรานั้นสะสมอาหารได้ดียิ่งขึ้น
และนี่ก็คือเคล็ดลับ “การปลูกมันสำปะหลังและการใส่ปุ๋ย ใส่ฮอร์โมนเพื่อเพิ่มขนาดหัวมัน” เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูง ในแบบที่พี่น้องเกษตรกรต้องการค่ะ